วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

1.ประวัติโปรแกรม illustrator
2.เครื่องมือในการสร้างภาพ
3.การสร้างและการปรับแต่งข้อความ
4.การวาดภาพโดยใช้รูปทรงสำเร็จ

1รูปเลขาคณิตและรูปร่างที่ใช้กันบ่อย ๆ ได้แก่ สี่เหลี่ยมจัตุรัสสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมมุมมน สามเหลี่ยม วงกลม วงรี รูปหลายเหลี่ยมรูปดาว ฯลฯ ซึ่งสามารถสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม Shape Toolซึ่งมีทั้งหมด 6 ชนิดคือ

1. Rectangle Tool ใช้สร้างสี่เหลี่ยมทั้งจัตุรัสและผืนผ้า
2. Rounded Rectangle Tool ใช้สร้างสี่เหลี่ยมทั้งจัตุรัสและผืนผ้าที่มีมุมโค้งมน
3. Ellipse Tool ใช้สร้างวงกลมและวงรี
4. Polygon Tool ใช้สร้างรูปหลายเหลี่ยม เช่น สามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม ฯลฯ
5. Star Tool ใช้สร้างรูปดาว รูปหลายแฉก
6. Flare Tool ใช้สร้างรูปประกายรัศมี

เครื่องมือที่ช่วยในการวาดรูปร่างพื้นฐาน มีหลักการใช้อยู่ 2 แบบ เช่นเดียวกับ Line Tool คือ
1. วาดอิสระตามการแดรกเมาส์
2. วาดโดยการระบุค่าต่าง ๆ ให้โปรแกรมคำนวณออกมาเป็นภาพ
การวาดสี่เหลี่ยม วงกลมและวงรี
เครื่องมือที่ใช้ในการวาดสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี มีหลักการใช้งานคล้ายคลึงกันดังนี้
1 การวาดเส้นแบบอิสระ

การทำมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกเครื่องมือ รูปสี่เหลี่ยม สี่เหลี่ยมมุมมน หรือวงรี ตามต้องการ
2. ถ้ายังไม่ได้เปิดหน้าต่าง Stroke Palette และ Swatch Palette ให้เปิด Palette ทั้งสองโดยไปที่เมนู แล้วเลือก Window > Stroke (หรือกด F10 ) และ Window > Swatches
3. เลือกขนาดของเส้นที่ Stroke Palette ในช่อง Weight

การวาดสามเหลี่ยมและรูปหลายเหลี่ยม
เครื่องมือที่ใช้ในการวาดรูปสามาเหลี่ยมและรูปหลายเหลี่ยมคือ เครื่องมือ Polygon Tool
การวาดเส้นแบบอิสระ

การทำมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกเครื่องมือ Polygon Tool
2. เลือกขนาดของเส้นที่ Stroke Palette ในช่อง Weight

วิธีการวาดโดยการระบุค่าต่าง ๆ
การทำมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเลือกเครื่องมือ Polygon Tool
2. คลิกบน Art board หรือดับเบิลคลิกที่รูปเครื่องมือ จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาเพื่อกำหนดค่าต่าง ๆ
3. ระบุค่าที่ต้องการแล้วกดปุ่ม OK
Radius คือรัศมีจากจุดศูนย์กลางไปยังจุดมุมของรูป ซึ่งเท่ากับความยาวของเส้นในแต่ละด้าน
Sides คือจำนวนด้านของรูปหลายเหลี่ยม



การวาดรูปหลายแฉก
การวาดเส้นแบบอิสระ การทำมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเครื่องมือ Star Tool
2. ถ้ายังไม่ได้เปิดหน้าต่าง Stroke Palette และ Swatch Paletteให้เปิด Palette ทั้งสองโดยไปที่เมนู แล้วคลิก Window > Stroke (หรือกด F10) และ Window > Swatches
3. เลือกขนาดของเส้นที่ Stroke Palette ในช่อง Weight

การวาดโดยการระบุค่าต่าง ๆ
การทำมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเลือกเครื่องมือ Star Tool
2. คลิกบน Art board หรือดับเบิลคลิกที่รูปเครื่องมือ จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาให้กรอกข้อมูล
3. ระบุค่าที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม OK

Radius 1 คือระยะจากจุดศูนย์กลางไปยังจุดที่อยู่นอกสุด
Radius 2 คือระยะจากจุดศูนย์ไปยังจุดที่อยู่ในสุด
Points คือจำนวนแฉกของรูปหลายเหลี่ยม
การกำหนดคุณสมบัติของเส้นด้วย Stroke Palette

วาดเส้นเสร็จแล้ว ถ้าอยากได้เส้นชนิดอื่น เช่น เส้นประ เส้นปลายมน ฯลฯ ทำโดยกำหนดขนาดและรูปแบบของเส้นได้ใน Stroke Palette โดยวิธีการทำมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกเลือกเครื่องมือลูกศรสีดำ เพื่อใช้เลือกวัตถุ
2. คลิกที่เส้นบนArt broad เป็นการเลือกเส้น
การสร้างรูปออกมาให้เป็นรูปวงกลม

1. ทำการวาดรูปวงกลมโดยใช้ ellipse tool

2. เลือกที่รูปวงกลม จากนั้นให้เลือก rotate tool แล้วทำการ คลิกที่ใต้วงกลม ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมรูปใหญ่ จากนั้นให้คลิกแล้วก็ลากเม้าส์ที่รูปวงกลมโดยเลื่อนไปด้านขวา แล้วจึงกด alt ที่แป้นพิมพ์แล้วให้ปล่อยเม้าส์ได้
3. กด ctrl+d เพื่อทำซ้ำในขึ้นตอนที่ได้ทำไป ก็กด ctrl+d เรื่อยๆจนได้เป็นรูปวงกลมตามรูปด้านล่าง


4. ทำการตกแต่งโดยใช้รูปอื่นๆที่ไม่ใช่รูปวงกลม เช่นรูปสามเหลี่ยม วงรี แล้วตกแต่งด้วยสีต่างๆตามต้องการ โดยทำขั้นตอนเดียวกับการทำรูปวงกลม

เทคนิคการหมุนภาพแบบสั่งองศาได้

1. วาดรูป สี่เหลี่ยมขึ้นมาแล้วกอปปี้เป็น 2 รูป จัดวางโดยใช้ เครื่องมือซีเลคชั่น จัดวางให้จุด กึ่งกลางพอดี

2.ให้เลือกเครื่องมือหมุน แล้วกด เอนเทอร์ 1 ครั้ง แล้วทำการกำหนดค่า

3. กดปุ่ม กอปปี้ แล้วก็กด ctrl+d จนกว่าจะครบรอบ จะได้ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย ในอดีต เมื่อกล่าวถึงคำว่า สื่อมัลติมีเดีย(Multimedia) หรือสื่อประสม จะหมายถึง
การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เทปบันทึกเสียง วีดีโอ ฯลฯ เพื่อให้การเสนอผลงาน หรือการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ นอกจากการบรรยายเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้ฟัง หรือผู้เรียนมิได้มีปฎิสัมพันธ์ต่อสื่อนั่นโดย

ในปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงคำว่า สื่อมัลติมีเดียจะหมายถึง
การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล ในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูล และข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อน ไหวเสียงและ วีดีโอเพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา

สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง
สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็น และในปัจจุบันสามารถนำเสนอเนื้อหาบทเรียนในรูปของสื่อมัลติมีเดียทางคอมพิวเตอร์ โดยมีการออกแบบให้มีกิจกรรม ที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้อย่างมีความหมาย รวมทั้งการจัดให้มีผลป้อนกลับโดยทันทีให้กับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนตรวจสอบความเข้าใจของตนจากการทำแบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วรูปแบบการเรียนนี้ มักจะได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอม โดยเรียกบทเรียนในลักษณะนี้ว่า CAI (คอมพิวเตอร์ช่วยสอน)

เครื่องมือที่ใช้ มี ตัวอักษร กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ ได้มาจาก
1.สร้างจากโปรแกรมสร้างภาพ เช่น Photoshop, CorelDraw, Paint และ Tabet เป็นต้น
2. ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล สามารถถ่ายภาพออกเป็นไฟล์ภาพ โดยปกติจะมีส่วนขยายเป็น JPG บางรุ่นสามารถถ่ายเป็นภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ ได้ การนำภาพไปใช้ต้องถ่ายข้อมูลจากกล้อง ดิจิตอล ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น บันทึกลงแผ่นดิสก์ ผ่านสายสัญญาณ
3. จากการ Scan ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ สแกนเนอร์มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้
4. จากแผ่น CD-ROM รวมภาพ และคลังภาพ (Clip Art) แหล่งภาพของเราสามารถ หาได้จากแผ่น CD-ROM ที่รวบรวมภาพ ที่วางขายอยู่ทั่วไป
5. จากแหล่งอื่น ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต การจับภาพจากหน้าจอจาก VDO CD เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะนำภาพมาจากที่ใดก็ตามต้องไม่ละเมิด ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

ข้อดีของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
1.เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2.สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3.สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย

ข้อจำกัด
1. ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะ ลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้อง มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย ตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
2.การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยา และการเรียนรู้นับว่ายังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ
3.ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน
4.การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5.คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน และความซับซ้อนของระบบการทำงานมาก เมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
6. มีตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง ระบบ Server เป็นต้น
7.เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้ผู้ผลิตสื่อมัลติมีเดียต้องหาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ
8.ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียนั้นต้องการทีมงานที่มีความชำนาญในแต่ละด้านเป็นอย่างมากอีกทั้งต้องมีการประสานงานกันในการทำงาน